วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน  4


บทที่2
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
            ตอบ  ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรก  เพราะคณะราษฎร์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย  และคณะราษฎร์ได้กล่าวไว้ว่าบัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้าและรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ  สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 หมวด 2  ว่าด้วยสิทธิการได้รับการศึกษาอบรม  การพูด  การเขียน  การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)

 2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กาหนด อย่างไร อธิบาย
            ตอบ  หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
                        มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                        มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ  และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                        มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                        มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
                        มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)
           
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
            ตอบ  จากแนวนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการศึกษาของของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511  พุทธศักราช 2517  และพุทธศักราช 2521  นั้นมีความเหมือนกันคือ ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในการได้รับการศึกษาจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
            ตอบ  ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
            ตอบ  เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
           
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
            ตอบ  เพราะในแต่ละยุคละสมัยมีความต้องการด้านการศึกษาที่ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการระบุประเด็นต่างๆในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ เพื่อให้เป็นแบบแผนในการจัดการศึกษา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนดบุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
            ตอบ  เหตุผลที่รัฐบาลต้องกำหนด บุคคลให้มีการศึกษา ก็เพราะ ต้องการให้คนมีการศึกษาติดตัวไป และต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน
            หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำและมีปัญหาในการทำงานหรือหน่วยงานต่างๆไม่ยอมรับบุคคลที่ขาดความรู้เข้าทำงานในสถานที่ต่างๆหรือพูดเป็นภาษาบ้านๆว่าทำให้คนโง่หากรัฐไม่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่จะต้องศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และหากเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คิดการศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นสามารถตีโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือความต้องการของลูกหลานได้ว่าต้องการศึกษาในรูปแบบใด นี่คือส่วนหนึ่งที่ดีในการจัดการให้องค์กรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
            ตอบ  ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร  จงอธิบาย
            ตอบ  สรุปสาระสำคัญ ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ละฉบับ ที่เกี่ยวกับการศึกษา พบว่า นับ ตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับ เด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดอย่างทั่ว ถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น