วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 3

บทที่ 1

คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง




1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
            ตอบ  มนุษย์เป็นสัตว์อันประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดารงชีวิตและอยู่รอดได้ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กาลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
            ดังนั้นนั้นเมื่อคนหมู่มากมาอยู่รวมกันจังจึงเป็นจะต้องมีกฎ  มีบรรทัดฐาน  เพื่อให้คนในสังคมได้ปฎิบัติตาม  เพื่อความเป็นระเบียบ และการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอย่างมีความสุข

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
          ตอบ  ดิฉันคิดว่าในสังคมปัจจุบันจะไม่สามารถอยู่ได้หากบ้านเมืองปราศจากกฎหมาย เพราะขนาดมีกฎหมายใช้กัน  คนในสังคมก็ยังไม่ปฏิบัติตามและยังทำผิดกฎหมายกันเยอะมาก  หากบ้านเมืองปราศจากกฎหมายจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายไม่สงบสุข  มีโจรชุกชุม  ผู้คนทำผิดกฎหมายกันมากขึ้น ฯลฯ     ส่งผลให้คนในสังคมไม่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก.      ความหมาย
            กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
 . ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
            ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายสามารถจัดแบ่งได้ 4  ประการคือ
1.      เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่มีองค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
2.      มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
3.      ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ
4.      มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย
            สำหรับที่มาของกฎหมายในแต่ละประเทศจะมีที่มาแตกต่างกัน ส่วนของประเทศไทยนั้นพอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
            1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
            2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย
            3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดี
            4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
            5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายนั้น สมควรหรือไม่
. ประเภทของกฎหมาย
                        การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน หากเราจะพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อยๆแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง  ได้แก่
                        แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
                        แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
                        แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
                        แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
           


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
           ตอบ  ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องมีกฎหมายมาใช้ในการปกครองประเทศของตน หากประเทศใดไม่มีกฎหมายมาใช้ในการปกครองประเทศ ก็จะทำให้ประเทศนั้นวุ่นวาย ไม่สงบสุข  ผู้คนในประเทศไม่มีความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินและการดำรงชีวิต  เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่ควบคุมให้คนในประเทศอยู่ในกฎ  อยู่ในระเบียบทีตั้งไว้  เป็นสิ่งที่ใช้ในการปกครองคนหมู่มากให้อยู่ภายใต้กฎเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะรวยหรือจนหากคุณทำผิดกฎหมาย  คุณจะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
             ตอบ  กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
            สภาพบังคับ(SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
            ตอบ   สภาพบังคับกฎหมายในทางอาญาและทางแพ่ง มีความแตกต่างกัน
                เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  จึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้
                1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป
                    ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
                2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น  หากผู้ทำผิดตายลง  การสืบสวนสอบสวน  การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป
                    ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง
                3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ  เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 59 บัญญัติว่า  บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท  ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท  หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา...
                    ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้น
                4. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด  ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ  เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรง
                   กฎหมายแพ่ง  หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี  กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น  ๆ  ดังนั้น  การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น  ศาลอาจตีความขยายได้

                5. ความรับผิดทางอาญา โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน
                  ส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ  เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
                6. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้  เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้  ความผิดอันยอมความได้เช่น  ความผิดฐานหมิ่นประมาท  ความผิดฐานยักยอก  เป็นต้น  เหตุผลก็คือ  ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง  ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้
                   ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล  หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลย
                7. ความผิดในทางอาญา  บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม  เช่น  ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ  ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุน
                    ส่วนความผิดทางแพ่ง  ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือช่วยเหลือ  จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมด
                8. ความรับผิดทางอาญา  การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็นส่วนรวม  เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี  อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่าง
                   ส่วนความรับผิดทางแพ่ง  กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ  ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  ทรัพย์สิน  ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด  กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น  ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุด

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
            1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) หรือก็คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
                   2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) หรือก็คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป
          3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายนอยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ 
          4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเพณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า  ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น  ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
          ส่วนประเพณีนิยมนั้น คือ สิ่งที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่นในประเทศจีนก็มีการนำประเพณีนิยมของนักปราชญ์อย่าง ขงจื้อ มาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย หรือประเพณีโบราณของลัทธิชินโตก็ใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ฯลฯ

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
           ตอบ  การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน หากเราจะพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อยๆแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง  ได้แก่
            แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
            แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
            แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
            แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
            แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
            สำหรับการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  กฎหมายภายใน  และ  กฎหมายภายนอก
            กฎหมายภายใน มีดังนี้
            1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                        1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ  เป็นต้น
                        1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                        2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน 
                        2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สาหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ เป็นต้น
3. กฎหมายสารบัญญัติ  และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                        3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
                        3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดาเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                        4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม
                        4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
                       
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
            ตอบ  ศักดิ์ของกฎหมายคือ   ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น  และเกณฑ์ เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย  กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา  และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา  คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด  ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา คือ พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด จะถูกพิจารณาโดยสภาผุ้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย
            เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน ผลก็คือทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน  โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป  เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท  กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า  เช่น พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  จะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด ต่างก็เป็นกฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ คือต้องอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตราเป็นกฎหมาย             
            ดังนั้น  จะได้ว่ากฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้  ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
             ตอบ  จากกรณีเมื่อ  วันที่  24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน จากข้อความข้างต้นดิฉันคิดว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายกระทำผิด  ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน  เพราะประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิที่ตนเองพึ่งมี  และการออกมาชุมนุมในครั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมอย่างสงบ  ปราศจากอาวุธ  แต่รัฐบาลกลับขัดขวางการชุมนุม และลงมือทำร้ายประชาชน  จนทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
            ตอบ  ในฐานะที่เราเรียนคณะครุศาสตร์  และต่อไปในภายภาคหน้าเราจะต้องไปเป็นครู หากเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา  เราก็จะดำรงชีพในสายวิชาชีพนี้อย่างลำบาก  เราไม่สามารรู้ได้ว่าเราสามารถปฏิบัติอะไรได้บ้างหรือเราไม่สามารถปฏิบัติอะไรได้บ้างที่จะไม่ผิดกฎหมายการศึกษา
            ดังนั้นหากเราจะไปเป็นครูเราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา และเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ใครจะไปเป็นครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น